จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

5 การคุ้มครองผู้บริโภค

5 การคุ้มครองผู้บริโภค
ความหมายของการคุ้มครองผู้บริโภค              
 “บริโภค”
  ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า กิน เสพ ใช้  สิ้นเปลือง ใช้สอย จับจ่าย  ดังนั้น คำว่า
“ บริโภค”  จึงมิได้หมายถึง กิน แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึง           การจับจ่าย ใช้สอย การซื้อสินค้า หรือบริการต่างๆ เช่น บริการทางการแพทย์ บริการโทรคมนาคม  บริการเสริมความงาม เป็นต้น
            
ส่วนคำว่า
“ผู้บริโภค” หมายถึง  ผู้หนึ่งผู้ใดก็ตาม ที่จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการ เพื่อการอุปโภค บริโภค อันเป็นการตอบสนองความต้องการของตนเอง  ทั้งนี้เป็นความต้องการทางด้านร่างกาย และรวมถึงความพึงพอใจ                

 การคุ้มครองผู้บริโภค
หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภค ให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัด จากการบริโภคสินค้าและบริการ 
5.1 ความจำเป็นในการคุ้มครองผู้บริโภค                              
      ในปัจจุบัน มีการแข่งขันกันในเชิงธุรกิจมาก
  ทำให้ผู้ผลิตแข่งกันผลิตและบริการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่พบว่า มีผู้ผลิตจำนวนไม่น้อย ที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้รัฐบาล จึงต้องทำหน้าที่ดูแล และกำกับแก้ไข โดยมีจุดมุ่งหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคดังนี้
1.
เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้เสียเปรียบผู้ผลิต
2.
เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา
3.
เพื่อควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
4.
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย        
      ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ได้รับความเป็นธรรมและความปลอดภัย จึงได้มีการกำหนดพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  ซึ่งได้บัญญัติ ถึงสิทธิ และการคุ้มครองผู้บริโภค ไว้ดังนี้          
     
มาตรา 4  ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครองดังต่อไปนี้
1.
สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร  รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง เพียงพอ เกี่ยวกับสินค้า  หรือบริการ
2.
สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าหรือบริการ
3.
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย จากการใช้สินค้าหรือบริการ
4.
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย                

มาตรา 5  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจดังต่อไปนี้
1.
นับ ชั่ง ตวง วัด ตรวจ สินค้า และเก็บหรือนำสินค้าในปริมาณพอสมควร ไปเป็น ตัวอย่าง เพื่อทำการทดสอบ โดยไม่ต้องชำระราคาสินค้า และทั้งนี้ตามกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
2.
ค้น ยึด หรือ อายัดสินค้า ภาชนะ หรือหีบห่อสินค้า ฉลาก หรือเอกสารอื่น ที่ไม่เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้  เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี  ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ว่า มีการกระทำผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
3.
เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใดๆ  เพื่อตรวจสอบการผลิตสินค้า การขายสินค้า หรือบริการ รวมทั้งตรวจสอบสมุดบัญชี เอกสาร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ของผู้ประกอบธุรกิจ  ในกรณี ที่มีเหตุอันสงสัยว่า มีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้
4.
มีหนังสือเรียกให้บุคคลใดๆมาให้ถ้อยคำ  หรือส่งเอกสาร และหลักฐานที่จำเป็นเพื่อ ประกอบการพิจารณา ของพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่ผู้บริโภคจะได้รับสิทธิตามที่บัญญัติไว้  ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยดังนี้
    1.
ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการซื้อสินค้า และรับ บริการต่างๆ เช่น การอ่านฉลาก  การอ่านข้อความสัญญา  การพิจารณาการโฆษณานั้นสามารถเชื่อถือได้เพียงใด
    2.
ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บรักษาพยานหลักฐานต่างๆ  ที่แสดงถึงการละเมิดสิทธิของ ผู้บริโภคไว้  เพื่อทำการเรียกร้องตามสิทธิของตน
    3.
เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคขึ้น  ผู้บริโภคมีหน้าที่ ในการดำเนินการ ร้องเรียนตามสิทธิของตน                           
5.2 ฉลากอาหาร   หมายถึง รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใดๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะบรรจุอาหาร หรือพื้นห่อภาชนะที่บรรจุอาหาร รายละเอียดบนฉลากอาหาร ต้องแสดงเป็นภาษาไทย และสามารถอ่านได้ชัดเจน ดังนี้
1.
ชื่อประเภทอาหาร
2.
ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิตอย่างชัดเจน
3.
เลขทะเบียนตำหรับอาหาร หรือเลขที่อนุญาตฉลากอาหาร(ถ้ามี)
4.
ปริมาณของอาหาร เป็นน้ำหนักสุทธิ หรือปริมาตรสุทธิ
5.
ส่วนประกอบของอาหาร
6.
เดือน ปี ที่ผลิตอาหาร หรือวันหมดอายุของอาหาร  แล้วแต่ประเภทอาหาร
7.
อื่นๆ เช่น การเจือสี การใช้สารเจือปนอาหาร ซึ่งแล้วแต่ประเภทอาหาร                                  
5.3 หลักในการเลือกซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค
1.
การเลือกซื้ออาหาร 
    1.1 อาหารสด ประเภทเนื้อสัตว์  ควรซื้อตอนเช้าดีกว่าตอนเย็น ดูความใหม่
สีสม่ำเสมอ  การเก็บรักษาควรเก็บในตู้เย็น ซึ่งไม่ควรเกิน 2 วัน แต่ถ้าต้องการเก็บนานควรแช่เย็นและไม่ควรเกิน 3 สัปดาห์  ส่วนการเลือกซื้อปลา ควรเลือกปลาที่ตาดูสดใส ไม่จมลึก เหงือกแดงสด เนื้อแน่นไม่กดบุ๋ม เกล็ดใสติดลำตัว ไม่หลุดลอก สำหรับการเลือกซื้อกุ้ง ให้เลือกกุ้งที่สีสดใส หัวแน่น ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า  เช่นเดียวกันกับการซื้อหอยสด ควรเลือกหอยที่มีฝาปิด ไม่มีเมือก ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า สำหรับอาหารประเภท ผักและผลไม้ ควรเลือกซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาล จะทำให้ซื้อได้ในราคาถูกและมีให้เลือกมากกว่า ควรเลือกซื้อผักผลไม้ที่ที่มีรอยกัดกินของหนอนแมลงอยู่บ้าง เพราะแสดงว่าปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง
    1.2 
อาหารแห้ง  หมายถึงอาหารสำเร็จรูปที่ทำให้แห้ง อาจบรรจุซองหรือไม่ก็ได้        เช่น โจ๊ก บะหมี่ แป้งผง อาหารกระป๋อง เป็นต้น  หลักในการเลือกซื้อคือ ต้องเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด ซองบรรจุไม่มีรูรั่ว ต้องอ่านฉลากให้ครบถ้วน ถึงชนิด ส่วนประกอบ วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดคุณภาพ  ส่วนอาหารกระป๋อง ให้อ่านฉลากข้างกระป๋องให้ละเอียด ไม่ควรเลือกซื้ออาหารกระป๋องที่บุบบวมโป่ง
2. เครื่องสำอาง
เครื่องสำอาง  หมายถึง
  สารที่ใช้กับส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย โดยการถู ทา นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือวิธีอื่นใด เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม  ในการเลือกซื้อควรพิจารณาดังแนวทางต่อไปนี้
    2.1 
เลือกซื้อเครื่องสำอางตามความเหมาะสมกับตนเอง ใช้แล้วพอใจและไม่มีอาการ แพ้
    2.2 
เลือกซื้อเครื่องสำอางที่มีแหล่งผลิตแน่นอน เชื่อถือได้
    2.3
สังเกตฉลากเครื่องสำอาง ก่อนซื้อทุกครั้ง ฉลากควรอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่ฉีกขาด มีข้อความภาษาไทย อ่านได้ชัดเจน
    2.4 
เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของวัตถุที่ใช้กันแสงแดด วัตถุที่ใช้ระงับเชื้อ และวัตถุที่ ใช้กันเสีย ต้องแจ้งชื่อ และปริมาณวัตถุที่ใช้
   
2.5 สำหรับเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของวัตถุควบคุม เช่นผลิตภัณฑ์แก้ฝ้า น้ำยาย้อม ผม  ต้องแสดงทะเบียนเครื่องสำอาง ครั้งที่ผลิต และวัน เดือน ปี ที่ผลิต
    2.6 
ควรเลือกซื้อเครื่องสำอางที่มีขนาดเหมาะสม ไม่ควรซื้อขนาดใหญ่จนต้องใช้เป็น เวลานาน เพราะเครื่องสำอางอาจจะเสื่อมคุณภาพก่อน
    2.7 
ไม่ซื้อเครื่องสำอางที่มีลักษณะเก่า หรือลักษณะ สี กลิ่น ความข้นเหนียว เปลี่ยนไป จากสภาพเดิม
    2.8 
เพื่อป้องกันอันตรายจากการแพ้เครื่องสำอาง  ควรมีการทดสอบเครื่องสำอางก่อน ใช้ โดยทดสอบกับผิวหนังบริเวณท้องแขน หรือหลังใบหู ทิ้งไว้โดยไม่เช็ดออกหรือล้าง  ตรวจผลการทดสอบ เมื่อครบ 24 ชั่วโมงหรือ 48 ชั่วโมง ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ผื่นคัน ไม่ควรใช้เครื่องสำอางนั้น
3. การเลือกการบริการ
   ผู้บริโภค นอกจากจะต้องจ่ายเงิน ไปเพื่อซื้อสินค้าต่างๆ แล้ว  ยังต้องจ่ายเงิน เพื่อรับบริการต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น
3 ประเภท ได้แก่ บริการทางกาย  บริการทางจิต และบริการทางสังคม  บริการเหล่านี้มีทั้งของภาครัฐและเอกชน การเลือกรับบริการต่างๆ ผู้บริโภคต้องศึกษาข้อดีข้อเสีย และเลือกรับบริการ ที่คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายไปเพื่อบริการนั้นๆ                
    จะเห็นได้ว่า  องค์ประกอบในการส่งเสริมสุขภาพกาย มีหลายปัจจัย  บุคคลควรรู้จักดูแลตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดการเจ็บป่วย  ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็มีนโยบายในการป้องกัน          
    การเจ็บป่วยของประชาชน เช่น การออกกฎหมาย เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค  แต่เมื่อบุคคลมีอาการผิดปกติ ก็ควรไปรับบริการทางการแพทย์
  สัญญาณที่เตือนให้รู้ว่าควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษามีดังนี้
1.
เจ็บปวดมากผิดปกติที่ส่วนใดๆของร่างกาย เช่น ศีรษะ ท้อง และแขน ขา ถ้าอาการ เจ็บปวดนี้เป็นบ่อย ก็ไม่ควรเพิกเฉย หรือข่มอาการผิดปกติไว้  และไม่ควรรับประทานยาแก้ปวด ควรรับการตรวจรักษาที่ถูกต้อง
2.
อ่อนเพลีย  ไม่ใช่เมื่อยล้าหลังจากทำงานหนัก  แต่รู้สึกเพลียตลอดเวลา มักรู้สึกได้ชัด ตั้งแต่เริ่มตื่นนอนในตอนเช้า  ซึ่งแสดงถึงความเสื่อมของร่างกาย ความเครียดทางอารมณ์ และ    การสูญเสียพลังงาน ซึ่งอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ
3.
น้ำหนักตัวเปลี่ยน  ทั้งมากขึ้น และลดเร็วผิดปกติ  ถ้าไม่ทราบน้ำหนัก ก็ต้องสังเกต ความอ้วนหรือผอมลงจากเครื่องแต่งกาย ซึ่งมักแสดงถึงความผิดปกติทางกายอย่างใดอย่างหนึ่ง
4.
มีไข้ หรือตัวร้อน ปกติจะรู้สึกได้เอง ถ้าไม่แน่ใจควรวัดปรอทวัดไข้  การมีไข้เป็น สัญญาณเตือนว่ามีเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย
5.
เลือดออก ทางผิวหนัง จมูก ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก และทางอื่นจากร่างกาย
6.
อาหารไม่ย่อย  เป็นระยะเวลานานหลายวัน และเป็นบ่อยๆ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด จุกเสียดท้อง
7.
นอนไม่หลับ นับเป็นสัปดาห์ๆ ไม่ควรใช้ยานอนหลับ
8.
ผิวหนังเปลี่ยนแปลง มีผื่น ตุ่ม หรือสีเปลี่ยนไป เช่น หน้าขาวซีด ขาว เหลือง ซึ่งอาจ เป็นอาการของดีซ่านได้ เป็นต้น
9.
บุคลิกเปลี่ยนแปลง เกือบเป็นคนละคน เช่น เคยสุภาพเรียบร้อย ก็กลายเป็นคนก้าวร้าว ดุดัน ฉุนเฉียว แต่ตนเองมักจะทราบได้ยาก มักมีบุคคลอื่นสังเกตได้ก่อน 10. สายตาผิดปกติ เช่น พร่ามัว เห็นของเป็นสองสิ่ง ปวดตา
11.
บวมตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ข้อ ท้อง แขน ขา
12.
มีก้อนเนื้อ บนผิวหนัง หรือใต้ผิวหนัง และโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่เจ็บปวด
13.
หายใจลำบาก หรือเหนื่อยง่าย แม้ออกแรงเพียงเล็กน้อย
14.
ไอถี่ และเป็นเวลานานๆ ในแต่ละครั้ง
15.
เจ็บคอ วันหรือสองวัน
16.
เบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก หรือไม่รู้สึกหิวอาหาร
17.
กระหายน้ำมาก โดยเฉพาะร่วมกับปัสสาวะมาก หรือปัสสาวะปวดขัด
18. 
มึนงง วิงเวียน เป็นลม และหมดสติบ่อยๆ
19.
ท้องผูก  ท้องเดิน เป็นเวลานาน
20.
ปวดศีรษะทั้งมาก และเล็กน้อย  จากสาเหตุที่มีมากมาย
   ดังนั้นบุคคล จึงควรหมั่นดูแลสุขภาพ  ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม มี      การออกกำลังกายและพักผ่อนที่สมดุล และสังเกตความผิดปกติของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับการตรวจรักษาที่ทันท่วงที  อันจะนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาวะทางกายให้อยู่อย่างแข็งแรงยืนนาน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น